Post Image

Nonversation

ในชีวิตประจำวัน ของมนุษย์ การมีปฏิสัมพันธ์ด้วยวาจา (Say) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป แต่การสนทนา’ (Conversation) อาจเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของการพูด ในแต่ละวันโดยปกติแล้ว การสนทนา หรือ Conversation นั้น หมายถึงการพูดคุยระหว่างคนสองคนหรือมากกว่านั้น ซึ่งบุคคลสามารถถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกันและกันได้ การสนทนาลักษณะนี้ทำให้เกิดประเด็นต่าง ๆ และมีผลในทางบวกหรือทางลบต่อผู้ที่เข้าร่วมการสนทนา ในปัจจุบัน นอกจากการสนทนากันต่อหน้าด้วย ปากแล้ว ยังสามารถสนทนาผ่านสื่อกลางอื่น ๆ เช่น โทรศัพท์ หรือการแชต เป็นต้น

เมื่อผสานคำว่า ‘Non’ ที่แปลว่าไม่เข้าไป จึงกลายเป็น Nonversation ซึ่งเป็นคำศัพท์แสลงที่ เกิดขึ้นในช่วง3ปีที่ผ่านมา มีความหมายที่ตรงข้ามกับคำว่า Conversation คือการสนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีหลักการ รวมถึงสถานการณ์ที่คำพูดกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ไม่เกิดผลใด ๆ ไม่มีความจำเป็นจะต้องพูดหรือยากที่จะเกิดการสนทนาจริงจังเปรียบเทียบได้กับสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบันที่ผู้คนถูกจำกัดสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น ตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่เราไม่สามารถ โต้แย้งผู้ใหญ่หรือตั้งคำถามกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ เนื่องจากระบบอาวุโส ไปจนถึงสถานการณ์ที่ใหญ่ขึ้นอย่างการที่ประชาชนไม่สามารถแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐ หรือแสดงความ คิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดกระแสหลัก เมื่อพูดออกไปก็มักจะถูกควบคุม บิดเบือน หรือทำให้ถูกลืม เลือนไปด้วยอำนาจบางอย่างแม้กระทั่งบนโซเชียลมีเดียที่หลายคนมองว่าเป็นพื้นที่ในการแสดงออกอย่าง อิสระ แต่แท้จริงแล้วกลับ ไม่สามารถช่วยให้เราหลีกหนีจากสภาพความเป็นจริงที่กระอักกระอ่วนได้ เพราะ โลกความเป็นจริงและโลกดิจิทัลได้ผนวกรวมเชื่อมโยงและส่งผลซึ่งกันและกัน แม้ทั้งสองโลกจะมีข้อจำกัด ด้านการสื่อสารแต่สำหรับโลกศิลปะนั้นแตกต่างออกไป

ศิลปะเป็นสื่อกลางที่มีความหมายลื่นไหลและหลากหลาย ผู้ชมสามารถตีความตามทัศนคติของตน ปราศจากกฎเกณฑ์ ไร้ซึ่งข้อจากัด จึงยากที่จะตัดสินถูกผิด เราจึงใช้ผลงานสื่อศิลปะ เพื่อขยายเสียง เล็ก ๆในสังคมให้ดังขึ้น นำมางานนิทรรศการศิลปนิพนธ์ในครั้งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่แสดงออกทางความคิดของ นักศึกษาสาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อชั้นปีที่4 โดยได้นำคำว่า ‘Nonversation’ มาใช้ในบริบทใหม่ ซึ่งหมายถึงการสื่อสารกับผู้ชมโดยไม่ใช้การสนทนาตรง ๆ แต่ใช้ผลงานศิลปะเพื่อแสดงออกถึงเรื่องราว ข้อ สงสัยและประเด็นต่าง ๆ เช่น ความงามประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเศรษฐกิจการเมืองและปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้น ในสังคม ซึ่งผลงานเหล่านี้ นอกจากจะเป็นตัวกลางในการสื่อสารและพูดแทนในประเด็นที่ หลากหลายแล้ว ยังบอกถึงความสนใจ คำถาม หรือความปรารถนาของนักศึกษาแต่ละคนอีกด้วย ลักษณะ ของงานศิลปะนิพนธ์แต่ละชิ้น มีทั้งการแสดงความคิดเห็น ล้อเลียน (Parody) เสียดสี (Satire) ผ่านการ ใช้สัญญะรวมไปถึงการพยายามพูดให้ตระหนักถึงอะไรบางอย่างซึ่งหลายๆ ประเด็นที่ถูกหยิบยกมาล้วน เป็นเรื่องที่หากใช้เพียงคำพูดอาจไม่เกิดประโยชน์หรือไม่มีพลังมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับ สังคม ‘Nonversation’ นี้ได้